แจกฟรี สื่อการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ สื่อพับ การใช้กล้องจุลทรรศน์ โดย สื่อการสอน DIY By NK

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ สื่อพับ การใช้กล้องจุลทรรศน์ โดย สื่อการสอน DIY By NK

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ สื่อพับ การใช้กล้องจุลทรรศน์ โดย สื่อการสอน DIY By NK

คลังสื่อการสอน ขอนำเสนอ สื่อช่วยสอน  สื่อการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ สื่อพับ การใช้กล้องจุลทรรศน์ โดย สื่อการสอน DIY By NK เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ในเรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือใช้เป็นสื่อตกแต่งห้องเรียน

ดาวน์โหลดด้านล่าง

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ สื่อพับ การใช้กล้องจุลทรรศน์

การใช้กล้องจุลทรรศน์

1 วางสไลด์ที่ต้องการส่องบนแท่นวางสไลด์ เปิดไฟกล้องจุลทรรศน์ ควรให้จุดวงกลมของแสงอยู่ตรงกลางใกล้เคียงกับบริเวณที่ต้องการส่องมากที่สุด

2 ปรับระยะห่างระหว่างตา สำหรับกล้องชนิด 2 ตา ปรับหาระยะห่างระหว่างตา (Interpupillary distance) และปรับ Diopter ที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้ระยะโฟกัสที่เท่ากัน

  • ในกรณีผู้ใช้งานสวมแว่นให้ทำการถอดแว่นออก กล้องจุลทรรศน์สามารถปรับหาโฟกัสโดยไม่ต้องส่วมแว่นได้

3 ปรับโฟกัส หาระยะโฟกัสที่ชัดที่สุด โดยเริ่มจากเลนส์วัตถุที่ขนาดกำลังขยายต่ำสุดก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มกำลังขยายให้สูงขึ้น โดยปรับปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment knob)

  • เนื่องจากเลนส์กำลังขยายต่ำสุดจะเป็นเลนส์ที่เห็นภาพกว้างที่สุด ทำให้ง่ายในการหาจุดที่จะส่อง การเริ่มที่กำลังขยายสูงทำให้มองเห็นไม่คลอบคลุมหรือทำให้ยากต่อการหาวัตถุที่จะส่อง
แจกฟรี สื่อการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ สื่อพับ การใช้กล้องจุลทรรศน์

4 ปรับละเอียด เมื่อปรับภาพหยาบ จนพอมองเห็นภาพ ให้ทำการปรับด้วยปุ่มปรับภาพแบบละเอียด (Fine adjustment knob) ควบคู่กับการเลื่อนสไลด์

5 ปรับปริมาณแสง โดยปรับที่ไดอะแฟรม (Diaphragm) ใต้แท่นวางสไลด์เพื่อควบคุมแสงในปริมาณที่พอเหมาะ การลดความกว้างของไดอะแฟรมลงเมื่อกำลังขยายสูงขึ้น

6 ปรับกำลังขยายให้สูงขึ้น เมื่อไม่ขนาดของวัตถุที่ส่องมีขนาดเล็กจนไม่สามารถมองเห็นได้ ให้ปรับกำลังขยายให้สูงขึ้น โดยเลนส์ 100X ควรใช้ Immersion Oil หยดลงบนกระจกปิดสไลด์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นด้วย โดยให้เลนส์สำผัสกับ Immersion Oil และกระจกปิดสไลด์

  • สำหรับกำลังขยาย 40X และ 100X แนะนำให้ใช้การปรับโฟกัส เฉพาะปุ่มปรับละเอียดอย่างระมัดระวัง เพราะการกระทบกันของสไลด์และเลนส์สามารถสร้างความเสียหายให้กับเลนส์ได้

7 เก็บทำความสะอาด เมื่อใช้งานเสร็จให้เก็บโดยใช้ถุงคลุมหรือเก็บไว้ในที่ที่ไม่มีฝุ่น และความชื้นต่ำ โดยเช็ดทำความสะอาดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์หรือน้ำยาสำหรับเช็ดเลนส์

  1. การจับกล้องและเคลื่อนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหนึ่งจับที่แขน และอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของกล้อง
  2. ตั้งลำกล้องให้ตรง
  3. เปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่
  4. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ ให้เลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุด อยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง
  5. นำสไลด์ที่จะศึกษามาวางบนแท่นวางวัตถุ โดยปรับให้อยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน
  6. ค่อยๆหมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้กล้องเลื่อนขึ้นช้าๆ เพื่อหาระยะภาพ แต่ต้องระวังไม่ให้เลนส์ใกล้วัตถุกระทบกับสไลด์ตัวอย่าง เพราะจะทำให้เลนส์แตกได้
  7. ปรับภาพให้ชัดเจนขึ้นด้วยปุ่มปรับภาพละเอียด ถ้าวัตถุที่ศึกษาไม่อยู่ตรงกลาง ให้เลื่อนสไลด์ให้มาอยู่ตรงกลาง
  8. ถ้าต้องการให้ภาพขยายใหญ่ขึ้นให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงกว่าเดิมมาอยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง จากนั้นปรับภาพให้ชัดเจนด้วยปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น ห้ามปรับภาพด้วยปุ่มปรับภาพหยาบเพราะจะทำให้ระยะของภาพ หรือจุดโฟกัสของภาพเปลี่ยนไป
  9. บันทึกกำลังขยายโดยหาได้จากผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา

การระวงัรักษากล้องจุลทรรศน์
เนื่องจากกล้อองจุลทรรศน์เป็ นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงและมีส่วนประกอบที่อาจเสียหายง่ายโดยเฉพาะเลนส์จึงตอ้งใช้
และเก็บรักษาดว้ยความระมดัระวงัใหถู้กวธิีซ่ึงมีวธิีปฏิบตัิดงัน้ี
1.การยกกล้อง ควรใช้มือหนึ่งจับที่แขนกล้อง (arm)และอีกมือหนึ่งวางที่ฐาน(base)และตอ้งใหล้า กลอ้งต้งัตรง
เสมอเพื่อป้องกนัการเลื่อนหลุดของเลนส์ใกลต้า ซ่ึงสามารถถอดออกไดง้่าย
2.สไลดแ์ละกระจกปิดสไลดต์อ้งไม่เปียกเพราะอาจทา ให้แท่นวางเกิดสนิม และทา ใหเ้ลนส์ใกลว้ตัถุช้ืนอาจเกิดราที่
เลนส์ได้
3.ขณะที่ตามองผา่ นเลนส์ใกลต้า เมื่อจะตอ้งหมุนปุ่มปรับภาพหยาบ ตอ้งหมุนข้ึนเท่าน้นั หา้มหมุนลง เพราะเลนส์
ใกล้ตาอาจกระทบกระจกสไลด์ท าให้เลนส์แตกได้
4.การหาภาพตอ้งเริ่มตน้ ดว้ยเลนส์วตัถุกา ลงัขยายต่า สุดก่อนเสมอเพราะปรับหาภาพสะดวกที่สุด
5.เมื่อใชเ้ลนส์ใกลว้ตัถุที่มีกา ลงัขยายสูงถา้จะปรับภาพใหช้ ดัใหห้ มุนเฉพาะปุ่มปรับภาพละเอียดเท่าน้นั
6.ห้ามใช้มือแตะเลนส์ ในการท าความสะอาดให้ใช้กระดาษส าหรับเช็ดเลนส์เท่าน้นั
7.เมื่อใชเ้สร็จแลว้ตอ้งเอาวตัถุที่ศึกษาออกเช็ดแท่นวางวตัถุและเช็ดเลนส์ใหส้ ะอาด

ขอขอบคุณสื่อการสอนจาก  สื่อการสอน DIY By NK

สื่อการสอนโดยเพจ สื่อการสอน DIY By NK แจกสื่อการสอนเพื่อให้คุณครูใช้ประกอบการเรียนการสอน ทบทวนเรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์ ในวิชาวิทยาศาสตร์

สื่อช่วยสอน รวบรวม โดย คลังสื่อการสอน เป็นสื่อแจกฟรีจากคุณครู เพจต่างๆ ที่นำมาแจก เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษา ให้ผู้ปกครอง คุณครู นักเรียน หรือผู้สนใจ นำไปใช้ประโยชน์ เช่น ประกอบการสอน ทบทวนเนื้อหาการเรียน

ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้นำไปขายหรือนำไปใช้เพื่อการพาณิชย์

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก https://tuemaster.com/blog/การใช้กล้องจุลทรรศน์/

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *