แจกฟรี สื่อการสอน วิชาดนตรี โมเดลห้าเหลี่ยมเครื่องดนตรีไทย โดย สื่อปันสุข By little teacher

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาดนตรี โมเดลห้าเหลี่ยมเครื่องดนตรีไทย โดย สื่อปันสุข By little teacher

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาดนตรี โมเดลห้าเหลี่ยมเครื่องดนตรีไทย โดย สื่อปันสุข By little teacher

คลังสื่อการสอน ขอนำเสนอ สื่อตกแต่งห้องเรียน โมเดลห้าเหลี่ยมเครื่องดนตรีไทย โดย สื่อปันสุข By little teacher เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย หรือตกแต่งห้องเรียน

ดาวน์โหลดด้านล่าง

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาดนตรี โมเดลห้าเหลี่ยมเครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทยเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการพัฒนามาตลอด แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องมือและเครื่องเป่า ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะหรือหลักการเกิดเสียงที่เป็นธรรมชาติของตนเอง ดนตรีไทยนับเป็นศิลปะประจำชาติที่ควรอนุรักษ์และสืบสานต่อไป

ประเภทของเครื่องดนตรีไทยและการผสมวงดนตรีไทย
การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยแบ่งเครื่องดนตรีไทยออกเป็น ๔ ประเภท โดยยึดหลักการทำให้เกิดเสียงและวิธีการบรรเลง คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า

เครื่องดีด ได้แก่ พิณเปี๊ยะ พิณน้ำเต้า ซึง จะเข้ กระจับปี่

เครื่องสี ได้แก่ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ สะล้อ

เครื่องตี จำแนกออกเป็น ๓ จำพวก คือ- เครื่องตีที่ทำด้วยไม้ ได้แก่ กรับคู่ กรับพวง กรับเสภา ระนาดเอก- เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่ มโหระทึก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องคู่ ฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ- เครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง ได้แก่ กลองทัด กลองชาตรี ตะโพนไทย ตะโพนมอญ กลองตะโพน โทนชาตรี โทนมโหรี รำมะนามโหรี รำมะนาลำตัด กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ เปิงมางคอก กลองสองหน้า ตะโล้ดโป็ด บัณเฑาะว์ กลองยาว กลองแเอว กลองสะบัดไชย

เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ใน ปี่กลาง ขลุ่ย แตรงอน แตรสังข์

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาดนตรี โมเดลห้าเหลี่ยมเครื่องดนตรีไทย

ตัวอย่างเครื่องดนตรีไทยบางชนิด

จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี ๓ สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี ๔ สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก มีประวัติและมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อยเป็นเครื่องสายที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความสูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และยาว ๑๔๐ เซนติเมตร ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย ๓ สาย สายที่ ๑-๒ ทำด้วยไหมฟั่น สายที่ ๓ ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียง สูง – ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ทำจากงาสัตว์

ซอสามสาย : เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ในวงดนตรีไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.๑๓๕๐) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึงบรรเลงประสมเป็นวงมโหรี ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง

ซอด้วง : เป็นซอสองสาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้

แจกฟรี สื่อการสอน วิชาดนตรี โมเดลห้าเหลี่ยมเครื่องดนตรีไทย

กรับคู่ : ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก เหลาให้เรียบและเกลี้ยงอย่าให้มีเสี้ยน มีรูปร่างแบนตามซีกไม้ไผ่ หนาตามขนาดของเนื้อไม้ยาวประมาณ 40 ซม ทำเป็น 2 อันหรือเป็นคู่ ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบนเกิดเป็นเสียง กรับ

ขอขอบคุณสื่อการสอนจาก สื่อปันสุข By little teacher

สื่อการสอนโดย สื่อปันสุข By little teacher แจก ไฟล์รูป ตกแต่ง สื่อการสอนเพื่อให้คุณครูใช้ประกอบการสร้างสื่อในการเตรียมการเรียนการสอน งานนำเสนอ หรือตกแต่งห้องเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

สื่อช่วยสอน  รวบรวม โดย คลังสื่อการสอน เป็นสื่อแจกฟรีจากคุณครู เพจต่างๆ ที่นำมาแจก เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษา ให้ผู้ปกครอง คุณครู นักเรียน หรือผู้สนใจ นำไปใช้ประโยชน์ เช่น ประกอบการสอน ทบทวนเนื้อหาการเรียน

ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้นำไปขายหรือนำไปใช้เพื่อการพาณิชย์

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/hs2kvo/dntri-thiy

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *